วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557
การสร้างโปรแกรมด้วย Adobe muse cc
เรียนการสร้างเว็บไซต์รวมผลงาน Portfolio ด้วยโปรแกรม Adobe Muse CC ละเอียดทุกขั้นตอน ตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบ การใช้งานควบคู่กับโปรแกรมกราฟิกอื่นๆ เช่น Photoshop, Illustrator, Indesign การออกแบบหน้าเว็บไซต์ การใส่ค่าลิงค์ การใส่แกลอรี่ และการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ หลักสูตรนี้สอนให้เข้าใจง่าย ทำงานได้จริงๆ เมื่อเรียนจบหลักสูตรแล้วสามารถสร้างเว็บไซต์ส่วนตัวได้ทันที
ทำไมต้องใช้ Adobe Muse CC ?
โปรแกรม Adobe Muse เป็นโปรแกรมเขียนเว็บไซต์แนวคิดใหม่ โดยนำเอา (1)แนวคิดของโปรแกรมจัดหน้ากราฟิก (Indesign) มาทำงาน เช่นสามารถสร้างหน้าต้นฉบับก่อน (Master Page) ก่อน แล้วค่อยนำมาสร้างหน้าเพจอื่นๆ ทำให้อัพเดทง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้ง(2)มีการวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Map) พร้อมใส่ลิงค์อัตโนมัติ ช่วยให้สามารถอัพเดทลิงค์ได้ง่าย และ (3) เพิ่มลูกเล่นสมัยใหม่ (HTML5, JavaScript) ที่ใช้งานง่าย โดยนักออกแบบไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องสคริปต์เลยแม้แต่น้อย
โปรแกรม Adobe Muse เป็นโปรแกรมเขียนเว็บไซต์แนวคิดใหม่ โดยนำเอา (1)แนวคิดของโปรแกรมจัดหน้ากราฟิก (Indesign) มาทำงาน เช่นสามารถสร้างหน้าต้นฉบับก่อน (Master Page) ก่อน แล้วค่อยนำมาสร้างหน้าเพจอื่นๆ ทำให้อัพเดทง่ายยิ่งขึ้น อีกทั้ง(2)มีการวางโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Map) พร้อมใส่ลิงค์อัตโนมัติ ช่วยให้สามารถอัพเดทลิงค์ได้ง่าย และ (3) เพิ่มลูกเล่นสมัยใหม่ (HTML5, JavaScript) ที่ใช้งานง่าย โดยนักออกแบบไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องสคริปต์เลยแม้แต่น้อย
ส่วนประกอบต่างๆ ใน Adobe MUSE
ถ้าหาก Photoshop, Illustrator, และ InDesign คือเครื่องมือสร้างสรรงานออกแบบ และการจัดวาง graphic design ที่สวยงาม Adobe MUSE ก็เปรียบเหมือนเครื่องมือในการเนรมิตให้งานออกแบบของคุณสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างน่าอัศจรรย์
เปรียบคือเหมือนคุณสามารถแปลงงานออกแบบของคุณ ให้กลายเป็น website ได้โดยไม่ต้องลงไปทำการ programming นั่นเองครับ!
จากการลองใช้งานเบื้องต้น ส่วนต่างๆ ของ Adobe MUSE ออกแบบมาเป็นขั้นตอนการทำงานอย่างชัดเจน ตั้งแต่
- Plan
ใช้วางโครงสร้างของ Website คุณจะเห็นระบบทั้งหมดของ Website รวมถึงออกแบบ Web template จากที่นี่ - Design
เป็นส่วนการจัดวางภาพ, ข้อความ, และ component รวมถึงกำหนด Link และ Interaction ได้จากที่นี่ - Preview
เมื่อจัดวางเสร็จแล้ว ลองแสดงผลดูก่อนในส่วนนี้ - Publish
ส่วนสำคัญครับ เป็นการเชื่อมต่อกับ Server ของ Adobe และนำผลงานของคุณขึ้นไปใช้งานจริงๆ งานไป เงินมาครับ
และนี่คือ video แนะนำการทำงานกับ Adobe MUSE ของคุณขจร พีรกิจ Adobe Community Professional ครับ
สรุป
Adobe MUSE นับเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของวงการพัฒนา Website เลยทีเดียว เป็นเครื่องมือที่ต่อไปจะลดขั้นตอนและเวลาในการพัฒนา Website อีกมาก
สำหรับประโยชน์และวิธีการใช้งาน ผมจะนำมาสาธิตในบทความต่อๆ ไป ติดตาม FlexBlog ได้ครับ
แต่สำหรับวันนี้เป็นต้นไป อะไรๆ หลายอย่างน่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในวงการพัฒนาเว็บบ้านเราแน่นอน
ถ้าคุณสนใจอยากลองใช้งานมันแล้วล่ะก็ ไป download มาลองใช้งานกันได้ที่ muse.adobe.com
แล้วคุณล่ะ? คิดว่า Adobe MUSE ดูเป็นยังไงบ้าง? แชร์ comment ด้านล่างแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ
วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557
วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557
คำบรรยาย
การสร้าง Website ด้วย Adobe Muse นั้นเป็นเรื่องที่ง่าย แต่การรู้จักวิธีทำงานกับไฟล์ Adobe Muse เบื้องต้น เป็นสิ่งที่เราควรทำความเข้าใจให้ดี มาดูกันว่าเวลาที่เราสร้าง Website ขึ้นมาใน Adobe Muse จะมีวิธีการเป็นอย่างไรกัน
เมื่อเราเปิดโปรแกรม Adobe Muse ขึ้นมาแล้ว เราจะเจอกับ Start screen ซึ่งเราสามารถสร้าง Website ใหม่ของเราได้จากที่นี่ หรือจะไปใช้ File menu แล้วเลือกคำสั่ง New Site ก็ได้ตามสะดวกครับ
พอเราเลือกคำสั่ง New Site แล้ว หน้าต่าง New Site จะปรากฎขึ้นมา โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะสร้าง Website ของเราใน Layout แบบไหนก่อน ซึ่งในปัจจุบันก็จะมีให้เลือกทั้ง Desktop, Tablet, และ Phone ซึ่งในที่นี้เราจะเลือกเป็นแบบ Desktop ก่อน
ถัดลงมาก็จะเป็นส่วนที่เราสามารถกำหนดค่าต่างๆ ให้กับ Web page ของเรา โดยค่าที่เรากำหนดในที่นี้จะถูกนำไปกำหนดให้กับ Web page แต่ละอันที่เราจะสร้างขึ้นมา เช่นความกว้างของ Page, จำนวน grid column, margin, และ padding ซึ่งเราสามารถมาเปลี่ยนแปลงค่าพวกนี้ได้ทีหลังถ้าต้องการ
พอตั้งค่าเรียบร้อยแล้วให้กด OK
Adobe Muse จะสร้าง Site ใหม่ขึ้นมาให้เรา
จากนั้นให้สังเกต Tab ที่อยู่บริเวณนี้ มันชื่อ Website-1 โดย Site แต่ละตัวที่เราเปิดขึ้นมาทำงาน จะอยู่ในรูปแบบ Tab ที่มี icon รูปแผนภูมิกำกับอยู่แบบนี้ และจากชื่อ หมายความว่าเรายังไม่ได้บันทึก Site ตัวนี้ไว้ ให้ไปที่ File Menu และเลือกคำสั่ง Save Site แล้วจากนั้น ให้ตั้งชื่อ file เลือก folder ที่ต้องการบันทึกไฟล์นี้ไว้ แล้วกด Save ครับ
ซึ่งหลังจากบันทึกไฟล์เรียบร้อยแล้ว ให้สังเกตชื่อ Tab จะเปลี่ยนเป็นชื่อเดียวกับที่คุณตั้งชื่อให้กับไฟล์ที่เพิ่งบันทึกไป เราสามารถปิด Site ที่เรากำลังทำงานอยู่ได้โดยการคลิกปุ่มกากบาท หรือปุ่มปิดตรง Tab ครับ
ทีนี้ ถ้าเราไปที่ folder ที่เราได้ทำการบันทึกไฟล์ไว้ เราจะเจอกับไฟล์นามสกุล .muse ซึ่งเป็นไฟล์ที่เก็บข้อมูลของ Site ที่เราสร้างด้วย Adobe Muse เอาไว้ เราสามารถ double click ที่ไฟล์เพื่อเปิด Site ขึ้นมาทำงานต่อได้
ดังนั้นรูปแบบของ Adobe Muse จะคล้ายๆ กับการทำงานกับ Microsoft word หรือ ฤกนิำ Photoshop ที่เราเคยใช้งานกัน ไม่ยากใช่ไหมละครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)